เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ การค้นคว้า วิวัฒนาการการทำแผนที่ตามหลักวิชาการในประเทศไทย จึงขอนำเสนอ TIME LINE ของการทำแผนที่ดังนี้
การทำแผนที่ภายในประเทศ เริ่มเมื่อปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2411 ได้มีการทำแผนที่บริเวณ ชายพระราชาอาณาเขตด้านตะวันตกของไทย เพื่อใช้กำหนดแนวเขตพรมแดนไทยกับพม่า
พ.ศ. 2413 ได้ทำแผนที่กรุงเทพฯ และกรุงธนบุรี โดยชาวต่างประเทศเป็นผู้ทำความเจริญในการทำแผนที่ของประเทศไทย เริ่มจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2418 ได้ทรงตั้งกองทำแผนที่ขึ้นตามคำแนะนำของ นายเฮนรี อาลาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ โดยมุ่งประโยชน์ในการตัดถนนสายต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ การวางสายโทรเลขจากกรุงเทพฯ ไปพระตะบองและทำแผนที่ปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ
พ.ศ. 2424 ได้จ้าง ชาวอังกฤษ คือ แมคคาร์ธี มาเป็นเจ้ากรมแผนที่ มีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมจากประเทศไทยไปลาว-เขมร ต่อมาได้ทำแผนที่มาตราส่วน 1 : 2,000,000 แสดงดินแดนประเทศไทย รวมทั้งลาว - เขมร และทำแผนที่บริเวณที่ราบ ภาคกลาง มาตราส่วน 1 : 100,000 งานทำแผนที่ของประเทศไทยระยะต่อมา พอสรุปได้ดังนี้
1. พ.ศ. 2444 เริ่มสำรวจและทำแผนที่โฉนดขึ้นเป็นครั้งแรก
2. พ.ศ. 2447 มีการทำแผนที่ตามแนวพรมแดนด้านลาวและเขมรโดยชาวฝรั่งเศส
3. พ.ศ. 2453 - 2493 ทำแผนที่ทั่วไปภายในประเทศ เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ระยะเวลา 40 ปี นี้ทำแผนที่เสร็จประมาณ 50 %
4. พ.ศ. 2455 เริ่มสำรวจทำแผนที่ทางทะเล
5. พ.ศ. 2466 เริ่มงานสมุทรศาสตร์
6. พ.ศ. 2468 นายชัตตัน (N.Sutton) อาจารย์วิชาภูมิศาสตร์โรงเรียนสวนกุหลาบ ร่วมมือกับกรมแผนที่ทหาร ทำแผนที่เย็บเล่ม ขึ้นเป็นครั้งแรก
7. พ.ศ. 2495 เริ่มโครงการทำแผนที่ประเทศไทย ตามข้อตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นการทำแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ
8. พ.ศ. 2504 กรมแผนที่ทหารได้ทำแผนที่เฉพาะวิชา มาตราส่วน 1 : 1,000,000 ขึ้น 10 ชนิด
9. พ.ศ. 2507 ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะให้ทันสมัยขึ้น และย่อส่วนเป็นมาตราส่วน 1 : 2,500,000
10. พ.ศ. 2510 - 2512 เป็นต้นมา ก็ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะวิชาชุดเดิม แล้วรวบรวมเป็นแผนที่เล่มมีคำอธิบายประกอบแผนที่เฉพาะแต่ละชนิด ทำให้สะดวกในการศึกษาและใช้เป็นอย่างมา
11. พ.ศ. 2514 ชุดแผนที่ 1:50 000จึงได้เปลี่ยนไปด้วยเป็น L7017 ใช้พื้นหลักฐาน Indian 1975 ครอบคลุมประเทศไทย 830 ระวาง
12.พ.ศ.2546 ชุดแผนที่ 1:50 000จึงได้เปลี่ยนไปด้วยเป็น L7018 ใช้พื้นหลักฐาน WGS84 ครอบคลุมประเทศไทย 830 ระวาง
13.พ.ศ.2551 ชุดแผนที่ 1501 มาตราส่วน 1: 250 000 ที่ใช้พื้นหลักฐาน WGS84 เริ่มให้บริการ จำหน่าย ทั่วประเทศ
2. พ.ศ. 2447 มีการทำแผนที่ตามแนวพรมแดนด้านลาวและเขมรโดยชาวฝรั่งเศส
3. พ.ศ. 2453 - 2493 ทำแผนที่ทั่วไปภายในประเทศ เป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ระยะเวลา 40 ปี นี้ทำแผนที่เสร็จประมาณ 50 %
4. พ.ศ. 2455 เริ่มสำรวจทำแผนที่ทางทะเล
5. พ.ศ. 2466 เริ่มงานสมุทรศาสตร์
6. พ.ศ. 2468 นายชัตตัน (N.Sutton) อาจารย์วิชาภูมิศาสตร์โรงเรียนสวนกุหลาบ ร่วมมือกับกรมแผนที่ทหาร ทำแผนที่เย็บเล่ม ขึ้นเป็นครั้งแรก
7. พ.ศ. 2495 เริ่มโครงการทำแผนที่ประเทศไทย ตามข้อตกลงระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเป็นการทำแผนที่มาตราส่วน 1: 50,000 ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ
8. พ.ศ. 2504 กรมแผนที่ทหารได้ทำแผนที่เฉพาะวิชา มาตราส่วน 1 : 1,000,000 ขึ้น 10 ชนิด
9. พ.ศ. 2507 ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะให้ทันสมัยขึ้น และย่อส่วนเป็นมาตราส่วน 1 : 2,500,000
10. พ.ศ. 2510 - 2512 เป็นต้นมา ก็ปรับปรุงแก้ไขแผนที่เฉพาะวิชาชุดเดิม แล้วรวบรวมเป็นแผนที่เล่มมีคำอธิบายประกอบแผนที่เฉพาะแต่ละชนิด ทำให้สะดวกในการศึกษาและใช้เป็นอย่างมา
11. พ.ศ. 2514 ชุดแผนที่ 1:50 000จึงได้เปลี่ยนไปด้วยเป็น L7017 ใช้พื้นหลักฐาน Indian 1975 ครอบคลุมประเทศไทย 830 ระวาง
12.พ.ศ.2546 ชุดแผนที่ 1:50 000จึงได้เปลี่ยนไปด้วยเป็น L7018 ใช้พื้นหลักฐาน WGS84 ครอบคลุมประเทศไทย 830 ระวาง
13.พ.ศ.2551 ชุดแผนที่ 1501 มาตราส่วน 1: 250 000 ที่ใช้พื้นหลักฐาน WGS84 เริ่มให้บริการ จำหน่าย ทั่วประเทศ