ปัจจุบัน ได้มีการก่อสร้าง โครงการและการพัฒนาพื้นที่หลายแห่งการก่อสร้างดังกล่าว ก่อใหัเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การประเมินผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของโครงการและ เพื่อเตรียมการวางแผนรองรับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น การศึกษาในเรื่องดังกล่าว หากใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีความถูกต้อง ทันสมัย และมีกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถวางแผนบริหารจัดการ และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ( RS, GIS, GPS) จัดเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการนำมาศึกษาการจัดการและการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในกระบวนการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA:environmental Impact Assessment) และการ ประเมินกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม(SEA) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลาย และส่วนใหญ่มักเป็นปัจจัยทางกายภาพ ซึ่งต้องมีการประเมินแบบหลายปัจจัย (Multi-Criteria Evaluation)
กระบวนการดังกล่าวสามารถใช้ GIS ในการกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมในพื้นที่ได้ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Spatial Multi Criteria Evaluation (SMCE) และ Spatial Decision Support Tools (SDST) เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศโดยเฉพาะ GIS จึงเป็นเครื่งมือที่สำคัญในการจัดการข้อมูลในกระบวนการ EIA และ SEA ทั้งในด้านการจัดการฐานข้อมูลการค้นหาข้อมูล การศึกษาที่ตั้งที่เหมาะสม การคาดการณ์และการประเมินผลกระทบ ตลอดจนสามารถนำเสนอในรูปแบบของแผนที่ ที่เข้าใจได้ง่าย
จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการนำ จีไอเอส Geographic Information System มาศึกษาด้านการจัดการ และการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
กระบวนการดังกล่าวสามารถใช้ GIS ในการกำหนดทางเลือกที่เหมาะสมในพื้นที่ได้ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Spatial Multi Criteria Evaluation (SMCE) และ Spatial Decision Support Tools (SDST) เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศโดยเฉพาะ GIS จึงเป็นเครื่งมือที่สำคัญในการจัดการข้อมูลในกระบวนการ EIA และ SEA ทั้งในด้านการจัดการฐานข้อมูลการค้นหาข้อมูล การศึกษาที่ตั้งที่เหมาะสม การคาดการณ์และการประเมินผลกระทบ ตลอดจนสามารถนำเสนอในรูปแบบของแผนที่ ที่เข้าใจได้ง่าย
จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการนำ จีไอเอส Geographic Information System มาศึกษาด้านการจัดการ และการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
No comments:
Post a Comment